วันอังคารที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์





ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์โดยทั่วไปประกอบด้วย 2 ส่วนด้วยกัน
          ส่วนที่ 1 คือ ฮาร์ดแวร์ หมายถึงตัวเครื่องและอุปกรณ์ต่างๆของคอมฯทุกๆชิ้นที่เราสามารถจับต้องหรือสัมผัสได้เช่น คีย์บอร์ด จอภาพ เครื่องพิมพ์ ซีพียู แรม เมนบอร์ด และอื่นๆเป็นต้น โดยด้านหน้าตัวเครื่องคอมฯจะมีปุ่มสำหรับกดเพื่อ เปิด-ปิด Reset เครื่อง และมีไฟบอกสถานการณ์ทำงานของเครื่องติดตั้งอยู่ นอกจากนั้นเป็นส่วนของจอภาพ คีย์บอร์ด เมาส์และลำโพง ซึ่งจะมีลักษณะคล้ายๆ กันในคอมพิวเตอร์ทุกๆ เครื่อง

         ส่วนที่ 2 คือซอฟท์แวร์ หมายถึง โปรแกรมที่สั่งให้เครื่องทำงานนั่นเองโดยมากจะมากับแผ่นซีดีหรือดีวีดี หรือดาวน์โหลดมาจากอินเตอร์เน็ทและส่วนมากจะต้องผ่านขั้นตอนการติดตั้ง (install หรือ setup ) ลงในฮาร์ดดิสก์ เพื่อให้รู้จักกับเครื่องเราเสียก่อน จึงจะใช้งานได้โปรแกรมมีหลายประเภทตั้งแต่ระบบปฏิบัติการวินโดว์ลีนุกซ์ ออฟฟิศ นีโร่ เพาเวอร์ดีวีดี โปรแกรมป้องกันไวรัส และอื่นๆอีกมากมาย


ชิ้นส่วนต่างๆ ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ /การดูแลรักษา

   1. ซีพียู (CPU: Central Processing Unit)  


                เป็นหัวใจหลักของเครื่องคอมพิวเตอร์ จะเร็วจะแรงก็ตัวนี้ (ตัวอื่นๆเป็นส่วนสนับสนุน) มีหน้าที่ประมวลผลการทำงานทุกอย่างบนเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยปกติซีพียูเป็นอุปกรณ์/ชิ้นส่วน ที่จะชำรุดเสียหายยากมากจากการใช้งานปกติ ซึ่งซีพียูอาจจะทำงานได้นานมากจนเราเลิกใช้เครื่องไปเลย แต่ถ้าเราโชคร้ายโดยถูกผู้ผลิตนำซีพียูทีมีความเร็วต่ำมาหลอกขายว่าเป็นซีพียูความเร็วสูง (CPU Remark) หรือทำการ Over Clock ให้ซีพียูทำงานเร็วกว่าความเร็วที่กำหนดให้ ทำให้อายุการใช้งานของซีพียูสั้นลงกว่าปกติ อีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้อายุการใช้งานซีพียูสั้นลงก็คือ พัดลมระบายอากาศ (Ventilation Fan) ที่ติดตั้งอยู่ที่ชุดจ่ายไฟฟ้า (Power Supply) ของคอมพิวเตอร์เสีย ทำให้ซีพียูต้องทำงานที่ความร้อนสูงตลอดเวลา ถ้าซีพียูเสียก็ต้องซื้อใหม่อย่างเดียว ไม่สามารถทำการซ่อมหรือแก้ไขได้ ความเร็วซีพียูส่วนใหญ่ในปัจจุบันนี้มีความเร็วอยู่ในระดับ 1 - 3.4 GHz  ที่ได้รับความนิยมขณะนี้มีอยู่ 2 บริษัทคือ Intel และ AMD ซึ่งทั้งสองบริษัทก็มีหลายรุ่นหลายแบบตามลักษณะการใช้งาน เช่นสำหรับเครื่องเซิร์ฟเวอร์ เครื่องตั้งโต๊ะ เครื่องโน๊ตบุ๊ค ฯลฯ)



    2. เมนบอร์ด หรือ แผงวงจรหลัก (Mainboard or Motherboard) 





              เป็นอุปกรณ์ที่มี Chip ควบคุมการทำงานของอุปกรณ์อื่นๆ ของเครื่องคอมพิวเตอร์ และเป็นทั้งตัวรับและจ่ายไฟให้กับ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ บนเมนบอร์ด ซึ่งถ้ามีอุปกรณ์สำรองไฟฟ้า (UPS) ก็จะช่วยให้การทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ เป็นไปอย่างราบรื่นสม่ำเสมอ และไม่ทำให้อุปกรณ์อื่นๆ ชำรุดเสียหาย ในกรณีที่เกิดไฟตกไฟกระชากอีกด้วย นอกจากนี้บางเมนบอร์ดอาจมีอุปกรณ์อื่นที่มีมาพร้อมในตัว (Onboard) มาให้ด้วย เช่น การ์ดแสดงผล การ์ด LAN การ์ดเสียง และการ์ดโมเด็ม ซึ่งทำให้ราคาของเครื่องคอมพิวเตอร์ถูกลง เนื่องจากรวมทุกอย่างมาไว้ในชุดเดียวกัน แต่ประสิทธิภาพการใช้งานบางอย่างก็ต่ำตามไปด้วย


3. RAM หน่วยความจำของคอมพิวเตอร์แบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก ๆ ดังนี้





3.1  หน่วยความจำรอม (ROM)  ROM ย่อมากจาก Read Only Memory เป็นหน่วยความจำที่เก็บข้อมูลแบบถาวร ตัว ROM ก็ถูกติดตั้งไว้แบบถาวรด้วย ผู้ใช้ไม่สามารถเขียนข้อมูลลงในรอมได้ ข้อมูลจะยังคงอยู่ถึงแม้ไม่มีกระแสไฟฟ้าในเครื่องคอมพิวเตอร์  โดยผู้ผลิตจะบรรจุจะหน่วยความจำรอมมาโดยตรง เช่นโปรแกรมไบออส เป็นต้น
3.2  หน่วยความจำแรม (RAM)  RAM ย่อมากจาก Random Access Memory   เป็นหน่วยความจำชั่วคราวก่อนที่จะนำไปประมวลผล  ซึ่งจะเก็บข้อมูลได้เมื่อมีไฟฟ้าเลี้ยงวงจร แต่ถ้าไฟฟ้าดับข้อมูลที่เก็บในแรมจะสูญหายหมด   ทั้งนี้หน่วยความจำแรมผู้ใช้สามารถเพิ่มได้ เพื่อความรวดเร็วในการประมวลผลข้อมูล ทั้งนี้ หน่วยความจำแรมมีหน่วยวัด เป็นไบต์  (Byte)  เช่น 256 เมกะไบต์ 512 เมกะไบต์ เป็นต้น มาตรฐานปัจจุบันเป็น Gigabyte (GB) เช่น 4GB 8GB แรมที่กำลังนิยมใช้งานอยู่ในขณะนี้คือ DDR3 เนื่องจากมีความเร็วในการทำงานสูง ความจุสูง และราคาไม่แพง 
หลักการเลือกแรม
ขนาดความจุแรม  จำนวนแรม ที่มากจะมีผลต่อความเร็วในการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งในปัจจุบันควรเลือกใช้แรมไม่น้อยกว่า 2GB ปัจจุบันแนะนำขั้นต่ำ 4GB เป็นต้น
 ความเร็วแรม  เป็นความเร็วบัสของเมนบอร์ดที่แรมใช้ในการติดต่อกับซีพียู มีหน่วยเป็นเมกกะเฮิร์ต MHz เช่น 400, 533 และ 677 MHz  ปัจจุบันขั้นต่ำ 1333 MHz เป็นต้น
การรับประกัน และบริการหลังการขาย อันนี้ก็สำคัญ เนื่องจากอุปกรณ์เหล่านี้เป็นอิเล็กทรอนิกส์ ใช้ไฟฟ้าเป็นสิ่งหล่อเลี้ยงให้เกิดการทำงาน มีความร้อนในตัว ก็อาจทำให้เสื่อมสภาพและชำรุดเสียหายได้ การเลือกการรับประกันดีๆ ก็ทำให้เรามั่นใจได้ระดับหนึ่งว่าของสิ่งนั้นมีคุณภาพน่าเชื่อถือได้


   4. หม้อแปลงไฟฟ้า (Power Supply)  


ติดตั้งอยู่ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ด้านหลังทำหน้าที่แปลงระดับ แรงดันไฟฟ้าที่ใช้ตามบ้านหรือไฟฟ้าทั่วไป มาใช้ให้เหมาะสมกับที่ใช้ในวงจรคอมพิวเตอร์ การเลือกใช้โดยปกติจะเลือกจากกำลังที่ใช้มีหน่วยเป็น วัตต์ (Watt) เครื่องคอมพิวเตอร์ทั่วไปจะมีตั้งแต่ 300Watt, 400Watt, 500Watt เป็นต้น ส่วนไฟฟ้าที่ออกมาจาก Power Supply มาตรฐานทุกรุ่นมีหน่วยเป็นโวลท์ เช่น 12 โวลท์, 5 โวลท์, 3 โวลท์ หากถูกไฟฟ้าดูด,ช๊อต จะไม่มีความรุนแรง หรือถึงกับเสียชีวิต

     5. ฮาร์ดดิสก์ (Hard disk) 



ฮาร์ดดิสก์เป็นหน่วยความจำสำรอง หรือสื่อบันทึกข้อมูลที่มีความจุสูง ฮาร์ดดิสก์จะถูกบรรจุอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ให้อยู่แล้ว ฮาร์ดดิสก์ในสมัยเริ่มแรกมีความจุเพียง 20-80 กิกะไบต์ และต่อมาฮาร์ดดิสก์ได้พัฒนาให้มีความจุสูงขึ้น และมีความเร็วในการเข้าถึงข้อมูลที่สูงขึ้นด้วย ซึ่งในปัจจุบันฮาร์ดดิสก์ที่มีขายทั่วไปในท้องตลาดมีความจุมากกว่า 500 กิกะไบต์ทั้งสิ้น และมักจะมีอายุการประกันตั้งแต่ 1-ปี ซึ่งเมื่อฮาร์ดดิสก์เสียในช่วงเวลาดังกล่าว ก็ต้องส่งไปซ่อมกับร้านที่ซื้อมา โดยทั่วไปฮาร์ดดิสก์จะมีอายุการใช้งานอย่างต่ำ 3 ปี แต่อย่างไรก็ตาม ฮาร์ดดิสก์ก็อาจจะเสียได้ตลอดเวลา ดังนั้น เราควรสำรองข้อมูลในฮาร์ดดิสก์เอาไว้อย่างสม่ำเสมอ เพื่อเวลาที่ฮาร์ดดิสก์เสีย ข้อมูลก็จะยังไม่สูญหายไป ข้อควรระวังก็คือ ในเรื่องของไฟตกไฟกระชากซึ่งจะมีผลต่อ Hard disk อาจทำให้เกิดความเสียหายได้  ฮาร์ดดิสก์ที่ได้รับความนิยมในปัจจุบันเป็น ฮาร์ดดิสก์แบบ Serial ATA มีความเร็วในการหมุน 5400 รอบ/สำหรับโน๊ตบุ๊ค และ 7200รอบ/สำหรับเครื่องตั้งโต๊ะสามารถรับส่งข้อมูลได้ด้วยความเร็วสูง 150 MB/และอาจจะสูงถึง 300 และ 600 MB/ใน SATA เวอร์ชั่นต่อไป



   7. การ์ดเสียง (Sound Card)    


เป็นอุปกรณ์ที่ทำให้คอมพิวเตอร์สามารถแสดงเสียงและบันทึกเสียงได้เหมือนเครื่องเล่นเทปคาสเซตต์ การ์ดเสียงมีชื่อเรียกหลายชื่อ บางทีเรียก ซาวการ์ด (Sound Card) ซาวด์บอร์ด (Sound board) หรือออดิโอซาวด์ (Audio Sound) การที่จะดูว่าการ์ดเสียงให้คุณภาพเสียงดีหรือไม่ ดูจาก Sampling Size 16 บิต และ Sampling Rate 44.1 Khz  เช่นกัน ระบบเสียงจะมีทั้งที่มาพร้อมในตัว (On Board) และติดตั้งเพิ่มเติมสำหรับงานในสตูดิโอ แต่ส่วนมากแล้วจะมีมาพร้อมในตัว (On Board)

     8. โมเด็ม (Modem)     



โมเด็ม (Modulator and Demodulator) เป็นอุปกรณ์รอบข้างสำหรับต่อพ่วงคอมพิวเตอร์ ทำหน้าที่เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ที่อยู่ห่างกันมาก ๆ โดยอาศัยเครือข่ายของโทรศัพท์เข้ามาช่วยในการสื่อสารรับ-ส่งข้อมูล หน้าที่ของโมเด็มมีหลายประการ คือ การ เชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ต การรับ-ส่งแฟกซ์ การส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (E-mail)   โมเด็มมี 2 ประเภท คือ
       โมเด็มที่ติดตั้งภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ (Internal Modem) ซึ่งจะติดตั้งมากับเครื่องคอมพิวเตอร์ ราคาไม่แพง แต่ไม่สะดวกในการเคลื่อนย้าย
      โมเด็มที่ติดตั้งภายนอก (External Modem) จะเป็นกล่องสี่เหลี่ยมมีสายต่อเข้ากับ CPU นิยมใช้มากเพราะเคลื่อนย้ายสะดวก ติดตั้งง่าย และคุณภาพดีพอสมควร
    ปัจจุบัน ไม่มีการใช้งานแล้ว เนื่องจากระบบเครือข่ายสื่อสารต่างๆ พัฒนาไปมาก เช่น Hi-speed internet , Wi-Fi Internet ซึ่งมีความเร็วในการรับส่งข้อมูลสูงมาก เมื่อเทียบกับโมเด็มมีความเร็วสูงสุดแค่  64 Kbps ขณะที่ Hi-speed internet มีความเร็วขั้นต่ำ 6 Mbps

     9. ดิสก์ไดร์ฟ (Disk Drive)




ดิสก์ไดร์ฟ เป็นอุปกรณ์ที่ใช้อ่านและเขียนข้อมูลลงในแผ่นฟล๊อปปี้ดิสก์ ซึ่งดิสก์ไดร์ฟก็มีหลายชนิด มีตั้งแต่ขนาด 8 นิ้ว 5.25 นิ้ว ล่าสุดเครื่องคอมพิวเตอร์ทั่วๆไปมักจะใช้ดิสก์ไดร์ฟขนาด 3.นิ้ว สามารถบรรจุข้อมูลได้ 1.44เมกกะไบท์ ปัจจุบันแทบไม่มีการใช้งานกันแล้ว เนื่องจาก ใช้ แผ่น ซีดี ดีวีดี แฮนดี้ไดร์ฟ และ ฮาร์ดดิสก์ เป็นต้น


     10. พัดลมระบายความร้อน 



พัดลมระบายความร้อน ใช้เพื่อระบายความร้อนที่เกิดจากอุปกรณ์ที่อยู่ภายในเครื่องคอมฯ ออกมาสู่ด้านนอกเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ประกอบภายในประเทศ มักจะใช้พัดลมระบายความร้อนที่มีราคาถูก และจะพบว่าส่วนใหญ่พัดลมจะเสียภายในเวลาไม่กี่ปีเท่านั้น มีอยู่น้อยมากที่จะอยู่ได้หลายปีโดยไม่เสีย เช่น พัดลมที่ใช้ในเครื่องเซิร์ฟเวอร์ การเลือกใช้พัดลมระบายความร้อนต้องพยายามใช้ของดีมีคุณภาพ (ส่วนมากคุณภาพดีจะมาพร้อมกับราคาที่สูง) เพราะถ้าพัดลมระบายความร้อนเสีย จะทำให้ซีพียูร้อนจัด ทำให้เครื่องเกิดอาการแฮ๊งก์ (Hang) โดยไม่ทราบสาเหตุ และทำให้อายุการใช้งานของซีพียูสั้นลง ถ้าพัดลมระบายความร้อนเสียควรต้องเปลี่ยนอย่างเดียว 


      จอภาพ (Monitor) 



Monitor เป็นอุปกรณ์ OUTPUT อย่างหนึ่งที่จำเป็นต้องมีสำหรับการใช้งานคอมพิวเตอร์ ใช้แสดงข้อมูลหรือโปรแกรมออกมาบนจอภาพ ปัจจุบันจอภาพให้หลายขนาด ได้แก่ 14 นิ้ว 15 นิ้ว 17 นิ้ว 19 นิ้ว และมากกว่า มีหลายแบบให้เลือก ทั้งจอภาพธรรมดา (CRT) หรือจอภาพแบน แอลซีดี (LCD)
- จอภาพแบบ CRT เป็นจอแก้วสุญญากาศ ทำงานโดยการยิงลำแสงอิเล็กตรอนผ่านสนามแม่เหล็ก ไปกระทบกับสารที่เคลือบด้านในของจอภาพ ซึ่งมีสารฟอสเฟสฉาบอยู่บนหลอดภาพ และเปล่งแสงออกมา เป็นจุดๆ ซึ่งจุดนี้ก็คือจุดที่แสดงภาพขึ้นมาบนหน้าจอ เรียกว่า พิกเซล (Pixel)
- จอภาพแบบ LCD และ LED ทั้งสองชนิดการทำงานจะคล้ายๆกัน คืออาศัยหลักของการใช้ความร้อนที่ได้จากขดลวดมาทำการเปลี่ยนและบังคับให้ผลึกเหลวแสดงสีต่างๆ ออกมาตามที่ต้องการ ที่แตกต่างกันคือ ต้นกำเนิดแสง LCD มาจากหลอดฟลูออเรสเซนส์ แต่ LED มาจากหลอดแอลอีดี ข้อดีคือแสงสว่างที่ได้จะไม่สั่นไหวเหมือนจอภาพแบบ CRT ซึ่งประโยชน์ก็คือสามารถลดความเมื่อยล้าในการมองได้  ปัจจุบันนิยมใช้ จอภาพ LED เป็นส่วนมาก
- การเลือกซื้อจอภาพจะตัองพิจารณาชนิดของจอภาพให้ตรงกับลักษณะการใช้งาน, พื้นที่ติดตั้ง, การเชื่อมต่อสัญญาณตามมาตรฐานที่ต้องการ จอภาพโดยทั่วไปมักจะมีการรับประกัน ประมาณ 1-ปี เนื่องจากหลอดภาพของแต่ละรุ่นยี่ห้อนั้น จะมีคุณภาพแตกต่างกันไปตาม แต่ละบริษัทผู้ผลิต ไม่ควรตั้งจอไว้ใกล้บริเวณที่มีสนามแม่เหล็กมากจนเกินไป และไม่ควรเช็ดหน้าจอด้วยน้ำยาหรือสารอย่างอื่นๆ ที่ไม่ได้ระบุไว้สำหรับทำความสะอาดจอภาพนั้นๆ

เมาส์ (Mouse) 





เป็นอุปกรณ์ทางด้าน Input ที่ใช้สำหรับป้อนข้อมูลคำสั่งเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ มี 2 แบบ
 - แบบทางกลเป็นแบบที่ใช้ลูกกลิ้งกลม ที่มีน้ำหนักและแรงเสียดทานพอดี เมื่อเลื่อนเมาส์ไปในทิศทางใดจะทำให้ลูกกลิ้งเคลื่อนไปมาในทิศทางนั้น ลูกกลิ้งจะทำให้กลไกซึ่งทำหน้าที่ปรับแกนหมุนในแกน X และแกน Y แล้วส่งผลไปเลื่อนตำแหน่งตัวชี้บนจอภาพ ลูกกลิ้งสามารถถอดทำความสะอาดเอาสิ่งสกปรกต่างๆ ภายในเม้าส์ออก ทำให้ลูกกลิ้งสามารถเคลื่อนที่ไปได้โดยอิสระ
- แบบใช้แสงอาศัยหลักการส่งแสงจากเมาส์ลงไปบนแผ่นรองเมาส์ (mouse pad)  ตามแนวแกน และ เมื่อเลื่อนตัวเมาส์เคลื่อนไปบนแผ่นรองเมาส์ก็จะมีแสงตัดผ่านและสะท้อนขึ้นมาทำให้ทราบตำแหน่งที่ลากไป เพราะฉะนั้นสิ่งที่ต้องคำนึงถึงคือพื้นหรือแผ่นรอง ควรเป็นสีทึบไม่มีลวดลายเพราะจะทำให้การสะท้อนของลำแสงไม่เที่ยงตรง ในเรื่องอื่นไม่ค่อยมีปัญหาการใช้งานเท่าใดนัก

แป้นพิมพ์ (Keyboard) 





เป็นอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ด้าน Input ที่ทุกเครื่องจำเป็นต้องมี เป็นอุปกรณ์หลักที่ใช้ในการนำข้อมูลลงในเครื่องคอมพิวเตอร์ การเชื่อมกับเครื่องคอมพิวเตอร์มีหลักๆ อยู่ 3 แบบ คือ
- แบบใช้สายเชื่อมต่ออนุกรม (serial port) หรือ PS2 หัวมีลักษณะกลม ข้อดีคือไม่จำเป็นต้องติดตั้งไดร์ฟเวอร์
- แป้นพิมพ์มีสายเชื่อมต่อชนิด USB หัวมีลักษณะเป็นหัวแบนแบบเดียวกับอุปกรณ์ USB ทั่วไป ข้อดี สามารถนำมาเชื่อมต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ได้หลากหลาย
- แป้นพิมพ์แบบไร้สาย ปกติจะมาพร้อมกับเมาส์เป็นชุดเดียวกัน การใช้งานสะดวกไม่ต้องมีสายเชื่อมต่อ ข้อเสีย จำเป็นต้องใช้แบตเตอรี่ ราคาสูงกว่าแบบมีสาย
การป้อนข้อมูลจำนวนมากทุกวัน หรือเอาแป้นพิมพ์ไปใช้เล่นเกมส์ จะพบว่าปุ่มบางปุ่มจะเสียเร็ว อายุการใช้งานของแป้นพิมพ์จะน้อย หรือแป้นพิมพ์คุณภาพไม่ดีตัวอักษรบนปุ่มลอกเร็วกว่าปกติ  นอกจากนี้ยังมีแป้นพิมพ์ที่มีราคาแพงเกินหนึ่งพันบาทขึ้นไป เช่น ไมโครซอฟต์คีย์บอร์ด หรือคีย์บอร์ดของไอบีเอ็ม แป้นพิมพ์เหล่านี้จะมีรูปทรงถูกสุขลักษณะ ไม่ทำให้เกิดอาการปวดเมื่อยข้อมือ มีความทนทานสูงและตอบสนองต่อการกดแป้นพิมพ์จะดีกว่า


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น